อาการข้างเคียงจากการตั้งครรภ์และวิธีแก้ไข |
เขียนโดย มนต์ชยา | |
ส่วนใหญ่แล้วว่าที่คุณแม่ทั้งหลายมักไม่ค่อยมีปัญหาน่าหนักใจเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์นัก สามารถคลอดบุตรออกมาได้ทารกที่มีสุขภาพดี นอกจากจะมีอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นตามปกติ เช่นอาเจียน คลื่นไส้ ปวดหลัง หรือแสบร้อนที่หน้าอก (Heartburn) อาการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด แต่อาการที่ว่านี้ผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้สึกหรือเห็นได้ชัด จึงมักไม่ได้รับความสนใจหรือเห็นอกเห็นใจเท่าไหร่นัก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอดทนกับอาการที่น่ารำคาญนี้ มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายขึ้นจากอาการดังกล่าวและสามารถมีความสุขได้ตลอดการตั้งครรภ์ ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายว่าทำไมปัญหาของอาการข้างเคียงต่างๆ ที่รบกวนคุณในเวลาตั้งครรภ์จึงเกิดขึ้น และเสนอคำแนะนำในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นี้ด้วยตัวเอง คุณควรปรึกษา, ตรวจสอบกับหมอสูติประจำตัวคุณเสียก่อนเพื่อให้แน่ใจว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการตั้งครรภ์ และยังไม่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเป็นทางการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการปวดท้อง (Abdominal Pain) สาเหตุ: เนื่องจากข้อต่อซึ่งรองรับมดลูกได้ยืดตัวออก คุณจึงประสบกับอาการปวดเมื่อยด้านข้างของท้อง การแก้ไข: พยายามนวดอย่างเบาๆ ในบริเวณที่ปวด ด้วยฝ่ามือโดยเคลื่อนไหวฝ่ามือช้าๆ และใส่กางเกงsupport ท้องที่เรียกว่ากางเกงพยุงครรภ์ จะสามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ แต่ถ้าคุณมีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ คุณควรรีบปรึกษาแพทย์หรือหมอสูติประจำตัวโดยเร็ว อาการปวดหลัง (Backache) สาเหตุ: ข้อต่อกระดูกต่างๆ มีการหย่อนตัวมากขึ้นและการอยู่ในท่วงท่าที่ไม่เหมาะสมสามารถทำให้คุณมีอาการปวดหลังมากยิ่งขึ้น แก้ไข: ปรับตัวให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง - ยืนตัวตรงๆ และใช้หมอนหนุนหลังเมื่อนั่ง และก้มลงเก็บของโดยให้หลังตรง คือยืนให้น้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้าง ย่อตัวลงโดยงอข้อสะโพกและหัวเข่า พยายามรักษาระดับให้ใบหู หัวไหล่และสะโพกอยู่ในระดับเดียวกัน หายใจไม่สะดวก (Breathlessness) สาเหตุ: ฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้อหน้าอก หย่อนตัวลงและขยายหลอดลม เนื่องจากต้องผลิตเลือดให้ปอดมากขึ้น เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูกขยายใหญ่ขึ้นมีผลไปดัน กระบังลมส่งผลถึงปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก แก้ไข: หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด พยายามหายใจช้าๆ และลึกๆ อย่าทำอะไรรีบร้อน Carpal Tunnel Syndrome สาเหตุ: มือ เท้ามีอาการชา เจ็บยิบๆ(tingling) หรือเจ็บฝ่ามือเนื่องจากระบบประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (มักจะมาจากอาการบวม) แก้ไข: นวดฝ่ามือ, ขยับนิ้วมือขึ้นลง กางนิ้วมือทั้ง 5 กว้างๆ สัก 2-3 วินาทีแล้วหุบมือ หรือเวลากลางคืนลองนอนห้อยมือลงมาข้างเตียง นอกจากนั้นอาจขอวิตามิน B6 จากแพทย์ ท้องผูก (Constipation) สาเหตุ: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับลำไส้ใหญ ่ทำให้อุจจาระผ่านได้ลำบาก อุจจาระที่คั่งค้างอยู่นานจะถูกดูดซึมน้ำออกไปมาก เวลาถ่ายจะแข็งและถ่ายยาก รวมทั้งการทานวิตามิน ธาตุเหล็กอาจเป็นสาเหตุ แก้ไข: รับประทานอาหารที่มี ีกากใยมากๆ (เช่น ผลไม้, สลัดผักสด), ดื่มน้ำวันละมากๆ, ดื่มน้ำลูกพรุน และเข้าห้องน้ำทันทีที่จำเป็น อย่ากลั้นไว้ ตะคริว (Cramp) สาเหตุ: ตะคริวที่ขาหรือเท้าอาจเนื่องมาจากการหมุนเวียน ของเลือดลดประสิทธิภาพลง และการรับประทานอาหาร ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายยามตั้งครรภ์ เช่น ขาดแคลเซียม (มีในนมสด), วิตามิน B รวม, โ ปตัสเซียม (กล้วย, พืชจำพวกถั่ว) หรือ เกลือ แก้ไข: เมื่อคุณตื่นนอนให้งอนิ้วเท้าขึ้น หรือเพื่อให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ลองใช้เท้าแต่ละข้างกลิ้งขวดเปล่าๆ ไปมา 20 ครั้งก่อนนอน รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ หน้ามืดเป็นลม (Fainting) สาเหตุ: ฮอร์โมนยามตั้งครรภ์ทำ ให้หลอดเลือดหย่อนตัว ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ซึ่งทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามือเป็นลม และมดลูกของคุณต้องการเลือดเพิ่มขึ้น และจำนวนน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงก็เป็นสาเหตุดังกล่าวได้ แก้ไข: คุณต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่คับแน่น ฟิตที่จะทำให้คุณร้อน พกพัดลมอันจิ๋วที่มีมอเตอร์ในตัวเอง หรือพัด หรือกระป๋องสเปรย์ฉีดน้ำ เพื่อช่วยคุณระบายความร้อน การผายลม (Flatulence) สาเหตุ: ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว ดังนั้นอาหาร และของเสียจึงไหลผ่านระบบย่อยอย่างเชื่องช้า และสร้างลมในกระเพาะให้เกิดขึ้น นอกจากนั้นการกลืนอากาศอย่างไม่ตั้งใจ เพื่อไล่อาการคลื่นไส้วิงเวียนหรือจุกแน่นหน้าอก ก็สามารถทำให้เกิดลมขึ้นได้ หรืออาจเป็นเพราะพวก alkaline food (เช่น นม) เกิดปฏิกริยากับกรดในกระเพาะ แก้ไข: ควรรับประทานอาหารอย่างช้าๆ, หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก็สในกระเพาะอาหาร และดื่มชา peppermint หรือ chamomile Food Cravings (การอยากอาหารบางชนิดอย่างมาก) สาเหตุ: คุณและทารกที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ ต้องการสารอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น แคลเซียม, วิตามิน C, หรือแร่เหล็ก (เนื้อแดง, ถั่ว, ผักโขม) และฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอาจ ทำให้คุณรู้สึกนึกถึงรสชาติของอาหารพวกนี้ รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ก็สามารถทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหารบางชนิดได้ แก้ไข: ควรรับประทานอาหารให้น้อย แต่บ่อยขึ้น รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากๆ (ข้าว, มันฝรั่งอบ, ขนมปัง และพวกพาสตาต่างๆ), หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก - ถ้าคุณอยากรับประทานอาหารแปลกๆ ให้ลองติดต่อกับนักโภชนาการ เพื่อสอบถามเมนูอาหารแปลกๆ เหงือกอักเสบ (Gum Problems) สาเหตุ: ฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงทำให้เหงือกอ่อนนุ่มขึ้น ดังนั้นหากมีรอยขีดข่วนหรือเศษอาหารติดตามซอกฟัน ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อและเหงือกอักเสบได้ แก้ไข: ใช้แปรงสีฟันชนิดขนแปรงนิ่มแปรงฟัน แล้วล้างปากด้วยน้ำยาบ้วนปากจะช่วยได้ หากต้องการใช้dental floss (ไหมขัดฟัน) ควรใช้อย่างเบามือ นอกจากนั้นคุณควรพบทันตแพทย์เพื่อ เช็คสุขภาพปากและฟันในช่วงนี้ ปวดศีรษะ (Headaches) สาเหตุ: ฮอร์โมน, อาการขาดน้ำกระทันหัน (Dehydration), ความอ่อนเพลีย, ความหิว, เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ, หรือภาวะความเครียด ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ แก้ไข: นวดต้นคอด้านข้าง เริ่มจากฐานของกะโหลกศีรษะ หรือขอให้คู่ของคุณนวดใบหน้า, ลำคอ และไหล่ อาจทำให้รู้สึกดีขึ้น พยายามรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอครบทุกมื้อ ดื่มน้ำบ่อยๆระหว่างอาหารแต่ละมื้อ Haemorrhoids (Piles) ริดสีดวงทวาร สาเหตุ: การกดทับของมดลูกทำให้เลือดเดินไม่สะดวก หลอดเลือดจึงบวม เป็นผลทำให้ทวารหนักเกิดอาการบวมเจ็บ, คัน เวลาถ่ายจึงทำให้บาดและระคายเคืองยิ่งขึ้นเมื่อท้องผูก แก้ไข: กรุณาดูคำแนะนำสำหรับ "อาการท้องผูก" และพยายามรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งรวมอาหารที่มีวิตามิน B6 (ไก่), วิตามิน C (ผักสด, ผลไม้สด), และวิตามิน E (ไข่, ทูน่า, บรอคโคลี่) แต่ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนที่คุณจะรับประทานวิตามินเสริมเอง Itching and Rashes (อาการคันและผื่นแดง) สาเหตุ: อาการคันตามเนื้อตัว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, ผิวหนังแห้ง, การยืดตัวของผิวหนังในระยะปลายของการตั้งครรภ์, หรือเกิดจากความร้อนในร่างกาย หรือความอ่อนเพลีย หากคุณรู้สึกว่าเป็นมากจนผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาจบ่งบอกอาการ obstetric cholestasis (อาการผิดปกติของตับซึ่งเกิดได้ยาก) ส่วน Rashes อาจลุกลามได้ในพื้นที่ชื้น หรือ อาจเกิดจากอาการแพ้อาหาบางชนิด, สบู่ หรือแม้แต่ผงซักฟอก แก้ไข: ดื่มน้ำสะอาดมากๆใช้shower gel (แชมพูอาบน้ำ) แทนสบู่ซึ่งทำให้ผิวแห้ง หรือลองใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของวิตามิน E หรือลองทาคาลาไมน์ หรือเบบี้โลชั่นที่เย็นๆ และใส่เสื้อผ้าที่ทำด้วยคอตตอน อาการคัดจมูก (Nasal Congestion) สาเหตุ: ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Oestrogen)ที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดมีมูกมาก และนำไปสู่การคัดจมูก แก้ไข: สั่งจมูกเบาๆ อย่างนุ่มนวล หยดน้ำมันยูคาลิปตัส 2 หยดลงในชามใส่น้ำอุ่น แล้วสูดดม หรือทาครีมวาสลีนเล็กน้อยในจมูกจะช่วยได้ในสภาพแวดล้อมที่แห้ง คลื่นไส้ อาเจียน สาเหตุ: ฮอร์โมนที่หลั่งในช่วงตั้งครรภ์ HCG (และภายหลังคือ Oestrogen และ Progesterone) อาจเป็นสาเหตุ แก้ไข: พยายามทำอะไรช้าๆ อย่ารีบเร่ง ทานอาหารให้น้อยแต่บ่อยๆ ที่อยู่ท้อง ลองทานของหวาน, ขิง (เช่นขนมปังขิง, น้ำขิง หรือในรูปแบบใดก็ได้) ดื่มน้ำสะอาด หรือรสซ่า หรือพวกหวานเย็น วางขนมปังกรอบ พวกบิสกิตไว้ใกล้มือข้างเตียง เพื่อทานในตอนเช้า 20 นาทีก่อนลุกขึ้นจากเตียง เหงื่อออกในตอนกลางคืน (Night Sweat) สาเหตุ: การเพิ่มปริมาณของเลือดในร่างกาย ทำใหหลอดเลือดขยายตัวและทำให้ร่างกายร้อน แก้ไข: ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากคอตตอน เวลานอนให้เปิดแอร์, หรือพัดลม หรือแม้แต่วางสเปรย์ฉีดน้ำไว้ใกล้เตียง รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่นผักสด, ถั่ว, ผลไม้แห้ง - ลูกพรุน ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain) สาเหตุ: อาการปวดเกิดจากข้อต่อกระดูกซึ่งหย่อนตัวลง เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ส่วนอาการเจ็บแปลบๆอาจเป็นเพราะทารกในครรภ์ดิ้นไปชนกระเพาะปัสสาวะที่เต็มของคุณ แก้ไข: หาผ้าห่มหรือถุงนอนมาปูใต้ผ้าปูที่นอน ถ้าเตียงของคุณแข็งเกินไป แล้วนอนตะแคงข้าง กอดหมอนข้างหรือวางหมอนนิ่มๆ ระหว่างเข่าและใต้ท้องของคุณ เวลาก้าวขึ้นเตียงนอน ให้งอเข่าก้าวขึ้นเตียงแล้วค่อยๆ เอนกลิ้งลงนอนอย่างช้าๆ ควรจะปัสสาวะให้บ่อยๆ เพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเสมอ อาการเจ็บที่กระดูกใต้อก (Rib Pain) สาเหตุ: อาการเจ็บแปลบๆ ใต้อกด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการขยายตัวใหญ่ขึ้นของมดลูกไปกดทับกระดูก แก้ไข: ซื้อบราที่ได้ขนาดพอดีกับทรวงอกที่ขยายขึ้น (ควรวัดให้ทราบขนาดที่ถูกต้อง) ถ้าบราของคุณคับไปแต่ขนาดของ cup พอดี การเพิ่มผ้าและตะขออาจเป็นประโยชน์ขึ้น ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้กระดูกใต้อกของคุณมีเนื้อที่ขึ้น หรือนั่งกับพื้นชูแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วขอให้คู่ของคุณช่วยดึงแขนแต่ละข้างขึ้นอย่างช้าๆ อย่างเบามือ Sciatica สาเหตุ: อาการปวดตั้งแต่ก้นลงมาจนถึงขา หรือเจ็บแปลบขาข้างหนึ่งข้างใด เป็นเพราะลูกในท้องกดทับเส้นประสาท แก้ไข: นั่งพักและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บแปลบอีก (นอนพักจะช่วยได้) ลองบีบนวดอย่างเบาๆ แล้วปล่อยมือ แล้วบีบนวดใหม่ที่ก้น หรือเอามือจับพนักเก้าอี้แล้วแกว่งขาไปมาด้านข้าง (ห่าง 45 องศา) หลายๆ ครั้งทุกวัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดมากเพิ่มขึ้น คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ นอนไม่หลับ สาเหตุ: อาจเกิดจากความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ, ความไม่สบายใจทั่วๆ ไป, หูไวต่อเสียงรบกวน และการต้องลุกไปเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน แก้ไข: พยายามเดินออกกำลังกายเบาๆ ทุกวัน, อาบน้ำอุ่น และดื่มเครื่องดื่มผสมนมก่อนนอน, ฟังดนตรีเบาๆจากเครื่องเสียง หรืออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้รางกายได้ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในตอนกลางวัน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เวลาจามหรือไอ สาเหตุ: เลือดไหลเวียนไปยังไต ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อบริเวณ pelvic floor ย่อหย่อน (พื้นที่โดยรอบด้านหน้าและหลังของทวารหนัก) ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่ควบคุมได้ไม่ดีนัก แก้ไข: ดื่มน้ำหรือของเหลวมากๆ และปัสสาวะบ่อยๆ พยายามขมิบปากช่องคลอดก่อนไอ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นกระชับ ให้ฝึกขมิบแล้วปล่อยประมาณ 50 ครั้งต่อวัน (ครั้งละ 10 หน) เส้นคล้ำที่หน้าท้อง (Stretchmarks) สาเหตุ: เส้นคล้ำๆ หรือรอยดำๆ เกิดขึ้นเนื่องจากผิวหนังเกิดการตึง แต่จะค่อยๆ จางหายไปหลังจากการคลอด ทั้งนี้เกิดจากระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และความยืดหยุ่นของผิวหนัง และการที่น้ำหนักตัวขึ้นอย่างกระทันหัน แก้ไข: พยายามให้น้ำหนักตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทาออยล์, ครีมบำรุงผิว เพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ยืดหยุ่น แต่ไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดรอยนี้ได้ ข้อเท้าบวม (Swelling Ankles) สาเหตุ: ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Oestrogen) เปลี่ยนระดับความคงที่ของโปตัสเซียมโซเดียม และเซลล์ในร่างกายดูดซับของเหลวไว้ ปริมาณของเลือดเพิ่มขึ้น และน้ำหนักของทารกกดทับหลอดเลือดใหญ่ แก้ไข: ยกเท้าให้สูงเท่าที่จะทำได้ นอนตะแคงข้างเพื่อลดการถูกกดทับของเส้นเลือดใหญ่ หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าหรือถุงน่องรัดๆ ใส่รองเท้าที่สวมสบาย น้ำลึกๆ อาจช่วยลดอาการบวมได้ Thrush สาเหตุ: ปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณช่องคลอดและมีเมือกขาวๆออกมาด้วย ทั้งนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Oestrogen) เป็นตัวการทำให้เกิด thrush ได้ง่ายในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แก้ไข: ใส่กางเกงในที่ทำจากคอตตอน หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ (เพราะมีเคมีคอลในสระน้ำ) และพวกเครื่องอาบน้ำที่ใส่น้ำหอมกลิ่นต่างๆ ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยน้ำเย็น หรือใช้ฝักบัวรดเบาๆ เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง แพทย์อาจแนะนำครีมหรือ pessaries, รับประทานโยเกิร์ตขวดเล็กๆ ทุกวันเพื่อควบคุมแบคทีเรียในระบบย่อยอาหาร ถ้าหากเมือกออกมาก, มีสี หรือมีกลิ่น ถือว่าผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว อาการอ่อนเพลีย สาเหตุ: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในตอนต้นของการตั้งครรภ์, น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา, การทำงานหนักมากเกินไป รวมทั้งความเครียด เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดความอ่อนเพลียเมื่อยล้า แก้ไข: รับฟังร่างกายของคุณ อย่าให้ร่างกายหักโหมเกินไป หากคุณโดยสารรถประจำทาง - ขอที่นั่งจากผู้โดยสารอื่น อย่ายืนเมื่อคุณสามารถนั่งได้ ยกเท้าขึ้นในช่วงพักเที่ยง (ถ้าคุณอยู่ในที่ทำงาน) ทานอาหารกลางวันและอาหารค่ำทุกมื้อ และถ้าเป็นไปได้ควรงีบในตอนบ่าย เข้านอนแต่หัวค่ำ Vaginal Discharge สาเหตุ: เกิดจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้มีอาการตกขาว ซึ่งมักจะเป็นในเดือนหลังๆ แต่ไม่มีผลร้ายต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่ถ้ามีมากหรือมีสี มีกลิ่นถือว่าผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว แก้ไข: ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น 2 ครั้งต่อวัน หลีกเลี่ยงเครื่องอาบน้ำที่ผสมน้ำหอม และเปลี่ยนมาใช้ชุดชั้นในที่ทำจากคอตตอน อาจใช้ผ้าอนามัยชนิดบางเพื่อซึมซับ หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงในคับๆ ยีนส์ หรือ leotards (กางเกงใส่เต้นแอโรบิค) คับๆ เส้นเลือดขอด (Vericose Veins) สาเหตุ: เส้นเลือดสีน้ำเงินม่วงที่ขอดๆ บนขา (หรือเรียกว่า Vulva) เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง, ปริมาณของเลือดที่เพิ่มขึ้น, การไหลเวียนของเลือดที่ขาไม่สะดวก, และการพองตัวของเส้นเลือดดำ แก้ไข: รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งวิตามิน C มากๆ, เดินยืดเส้นยืดสาย หรือออกกำลังกายเบาๆ ที่ขา อาจช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ใส่กางเกงพยุงครรภ์ และหลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานานๆ หลักปฏิบัติเพื่อลดอาการอึดอัดขณะตั้งครรภ์ คุณควรเอาใจใส่กับท่านั่ง ท่ายืน รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถูกสุขอนามัย และพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าคุณไม่แน่ใจอาการที่คุณเป็นอยู่ ว่ามีความสำคัญหรือไม่ เพียงใด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ถ้านี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณ ควรซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงให้มากที่สุดจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อที่คุณจะได้ทำความคุ้นเคยและได้รับความรู้ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะต้องรู้สึกและมีอาการอย่างไรบ้าง ถ้าคุณมีอาการดังกล่าวต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที การไปพบหมอบ่อยๆ นั้นเป็นการดีกว่าการไม่ไปพบหมอเลย ถึงแม้คุณจะคิดว่า หากไปพบหมอแล้วจะไม่พบปัญหาใดๆ นั่นเป็นการดีสำหรับคุณ แต่ถ้าหากมีปัญหาขึ้นมา การแก้ไขหรือการรักษาจะง่ายขึ้น ถ้าคุณหมอพบปัญหาตั้งแต่แรก อาการปวดท้องหรือเป็นตะคริว ซึ่งเพิ่มความปวดขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการปวดมากกว่า 24 ชั่วโมง มีเลือดออกจากช่องคลอด, อุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ มีไข้สูง อาเจียนอย่างต่อเนื่อง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ทานยาแล้วไม่หาย หรือสายตาพร่ามัว หน้าบวม มือ เท้าบวมจนไม่สามารถสวมรองเท้าได้ อาการอื่นที่คุณวิตกกังวล ทำความรู้จักฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์สักเล็กน้อย ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับคุณนั้น เป็นไปเพื่อทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ที่ดี เช่น อาการแพ้ยามตั้งครรภ์มีส่วนมาจากผลของระดับ HCG (Human Chrionic Gonadotrophin) เพิ่มขึ้นซึ่งผลิตโดยรก (Placenta) ที่กำลังเจริญเติบโต เมื่อรกได้รับฮอร์โมนชนิดนี้แล้วในเวลา 12 อาทิตย์ ระดับฮอร์โมน HCG จะลดลง ดังนั้นอาการคลื่นไส้มักจะหายไปภายใน 16 อาทิตย์ ข้อต่อกระดูกต่างๆ มีการหย่อนตัวมากขึ้นเพื่อให้ร่างกายคลอดบุตรได้ง่ายขึ้น แต่นั่นทำให้คุณเกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก (Heartburn) และปวดหลัง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นเช่น มดลูก ทั้งนี้เพื่อปกป้องทารกในครรภ์ให้ปลอดภัยจากการแข็งตัวของมดลูก แต่ฮอร์โมนนี้มีผลทำให้คุณเกิดการท้องผูก นอกจากนั้น 2-3 วันก่อนคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง และทำให้การแข็งตัวของมดลูกรุนแรงขึ้น และคุณอาจจจะมีอาการท้องเสีย ฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณควรไปพบหมอที่ฝากครรภ์ ตามนัดทุกครั้ง เพื่อหมอจะได้พิจารณาว่าอาการข้างเคียงใดที่เป็นปัญหาควรได้รับการรักษา เช่นอาการบวมเป็นต้น อาจจะมีสาเหตุมาจากอากาศร้อน แต่ถ้าความดันโลหิตของคุณขึ้นสูง และมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ นั่นอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของโรคครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) ซึ่งคุณจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ ที่มา http://www.thaiparents.com/ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น